The VCI method:ทฤษฏีการยับยั้งการกัดกร่อนด้วยหลักสารสารระเหย(VCI)
ด้วยคุณสมบัติที่แตกต่างจากวิธีการป้องกันสนิมแบบเดิมๆ ที่เคยเป็นที่นิยมเช่นการเคลือบพื้นผิวโลหะหรือการดูดความชื้นด้วยสารดูดความชื้นหรือซิลิกาเจล นวตกรรมล่าสุดในการป้องกันและยับยั้งการเกิดสนิมของสาร VCI (Volatile Corrosion Inhibitor)
โดยการทำงานของสาร VCI แสดงออกทั้งในรูปแบบการเกิดปฎิกิริยาและไม่เกิดปฎิกิริยา ขั้นตอนการปฎิกิริยาเกิดขึ้นเนื่องจากสารเคมีที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดสนิมจะเกิดปฎิกิริยาเปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นไอในอากาศและอีกส่วนจะจับกันเป็นเหมือนฟิลม์โมเลกุล (VCI molecular layer) เคลือบบนผิวโลหะเพื่อยับยั้งการกัดกร่อนและเกิดเป็นสนิม ด้วยวิธีการป้องกันสนิมที่ทันสมัยของบรรจุภัณฑ์ VCI ขั้นตอนการทำความสะอาดหรือกำจัดสารเคลือบผิวก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป
จากเทคโนโลยีการผลิตและออกแบบที่ทันสมัย ผลิตภัณฑ์สาร VCI มีทั้งขั้วที่เป็นสารอินทรีย์และสารอนินทรีให้ผลการยับยั้งการกันกร่อนและปฎิกิริยาการเกิดสนิมได้เป็นอย่างดี
ความพิเศษของสาร VCI คือความสามารถที่จะปล่อยโมเลกุลออกไปในชั้นบรรยากาศล้อมรอบชิ้นส่วนโลหะและการดูดซับบนพื้นผิวโลหะในลักษณะฟิลม์โมเลกุล (VCI molecular layer) ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า กระบวนการนี้ทำให้ สาร VCI สามารถเข้าถึงพื้นที่ซอกซอนและเข้าถึงได้ยากลำบากถ้าหากใช้วิธีการยับยั้งการเกิดสนิมแบบอื่นๆ
วัสดุที่เป็นพาหะให้สาร VCI เกาะ(VCI Carrier)ชั่วคราวสามารถเป็นได้ทั้งกระดาษ, กระดาษแข็งคร์าฟท์ (Kraft paper), พลาสติกฟิลม์, โฟมหรือ emitters นอกเหนือไปจากนั้นสาร VCI ยังสามารถรวมอยู่ในผง,สเปรย์, น้ำมันและน้ำ การปล่อยโมเลกุลของสาร VCI เป็นอิสระและไม่ขึ้นกับอุณหภูมิในเกณฑ์ปกติหรือระดับความชื้นชั้น
การรวมตัวของชั้นสาร VCI ในชั้นบรรยากาศแบบปิดจะเกิดขึ้นที่บริเวณระหว่างพื้นผิวโดยรอบของโลหะเพื่อป้องกันการเกาะจับของโมเลกุลน้ำที่บริเวณผิวของโลหะ
ตอนหน้ามาติดตามกันต่อนะครับ ว่าทฤษฏีว่าด้วยหลักการใช้สารระเหยเพื่อยับยั้งการกัดกร่อนมีอะไรหน้าสนใจอีกบ้าง