Knowledge

VCI Products Knowledge-แบ่งปันความรู้บรรจุภัณฑ์กันสนิม

1.ข้อแตกต่างระหว่าง “shelf life” และ “in-service life”?

shelf life-อายุในการเก็บ
shelf life-อายุในการเก็บ

Shelf life คือระยะเวลาก่อนที่ตัวผลิตภัณฑ์กันสนิมจะถูกนำออกมาใช้โดยยังคงคุณสมบัตรเหมือนเดิม
ส่วน “in-service life” คือระยะเวลาที่ตัวผลิตภัณฑ์กันสนิมจะสามารถป้องกันชิ้นส่วนโลหะที่สะอาดและใช้งานอย่างถูกต้องจากการกัดกร่อนจากการเกิดอ๊อกไซด์

2.วิธีการคำนวณขนาดถุงกันสนิมแบบพับข้าง

คำนวณขนาดถุงกันสนิมแบบพับข้าง
คำนวณขนาดถุงกันสนิมแบบพับข้าง

3.นำแนะนำในการใช้งานพลาสติกกันสนิม

1.ผู้ปฏิบัติงานควรสวมถุงมือก่อนหยิบจับชิ้นงานบรรจุงาน เพื่อป้องการสาเหตุการเกิดสนิมจากรอยนิ้วมือ
2.เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดควรแพคงชิ้นงานด้วยพลาสติกกันสนิมให้เร็วเท่าที่จะทำได้
3.หลีกเลี่ยงการใช้ซ้ำถุงกันสนิมที่สกปรกเลอะเทอะหรือมีรอยฉีกขาดขนาดใหญ่
4.ควรขั้นระหว่างชิ้นงานด้วยผลิตภัณฑ์กันสนิม เช่น กระดาษกันสนิม
5.ปิดผนึกถุงพลาสติกกันสนิมด้วยเทปชนิดกันน้ำหรือซีลปิดด้วยความร้อนจะดีที่สุด

4.ชนิดของโลหะ

ชนิดของโลหะ
ชนิดของโลหะ

5.การกัดกร่อนคืออะไร(What Corrosion is?)

What Corrosion is- การกัดกร่อนคือ
What Corrosion is- การกัดกร่อนคือ

ในทางเทคนิคนั้น การกัดกร่อนหมายถึงการที่ผิวโลหะถูกทำลายลงโดยกระบวนการทางเคมีไฟฟ้า ที่ทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมนั้นๆ เมื่อใดก็ตามที่ผลิตภัณฑ์ของคุณสัมผัสกับความชื้นและอากาศ เมื่อนั้นสนิมและการกัดกร่อนจะเกิดขึ้น จึงจำเป็นต้องมีวิธีการป้องกันสนิมที่ถูกต้องและได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มที่จะเกิดสนิมได้ง่ายจากการที่ต้องสัมผัสกับอากาศและความชื้นเป็นเวลายาวนานระหว่างการจัดเก็บและการขนส่ง

6.สารยับยั้งการเกิดสนิมของเหล็กเสริม (Corrosion Inhibitor)

สารยับยั้งการเกิดสนิมของเหล็กเสริม (Corrosion Inhibitor)
สารยับยั้งการเกิดสนิมของเหล็กเสริม (Corrosion Inhibitor)

วันนี้ขอแนะนำบทดีๆและน่าสนใจเกี่ยวสารยับยั้งการเกิดสนิมในวงการก่อสร้าง จากเวปไซต์สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย (http://www.thaitca.or.th)
โดยท่าน ดร.ภัควัฒน์ แสนเจริญ
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีการก่อสร้างและบำรุงรักษา
สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ขออนุญาตคัดลอกบทความบางส่วนมานำเสนอดังนี้ครับ

“ในอดีตท่ีผ่านมา มีการศึกษาวิจัย และพัฒนาสารเคมีข้ึนมาหลายชนิดเพื่ออใช้ในการยับยั้งการเกิดสนิมของเหล็กเสริม โดยมีทั้งประเภทท่ีเป็นสารผสมเพิ่มในคอนกรีตโดยตรง และ สารประเภททาเคลือบผิว ซึ่งจะซึมเข้าไปในเน้ือคอนกรีตในภายหลัวและเนื่องจากกระบวนการ เกิดสนิมของเหล็กเสริมเป็นกระบวนการทางไฟฟ้าเคมีดังนั้นประเภทของสารยับยั้งการเกิดสนิมจึงสามารถแบ่งไดเ้ป็น3ประเภทใหญ่ตามคุณสมบัติในการยับยั้งการเกิดสนิมตามทฤษฎีไฟฟ้าเคมี ได้แก่
1.สารยับยั้งการเกิดสนิมประเภทแอโนด เป็นสารเคมีที่สามารถยับยั้งกระบวนการเกิดปฏิกริยา แอโนดของกระบวนการไฟฟ้าเคมี หรือไปยับยั้งการเกิดปฏิกิยาของโลหะ โดยสารเคมีในกลุ่มน้ีมักมีองค์ประกอบของ โครเมต หรือไนไตรท์
2.สารยับยั้งการเกิดสนิมประเภทแคโทด เป็นสารเคมีที่สามารถยับยั้งกระบวนการเกิดปฏิกริยา แคโทดของกระบวนการไฟฟ้าเคมีโดยทาปฏิกริยากบั ไอออนซึ่งละลายอยู่ในสารละลาย ก่อให้เกิดฟิล์มของเกลือซึ่งละลายน้าได้น้อยลง สารเคมีในกลุ่มน้ีได้แก่ สารเคมีที่มี องค์ประกอบของคาร์บอเนท ฟอสเฟท ซิลิเกท โพลีฟอสเฟท เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพในการยบั ย้งั การเกิดสนิมของสารในกลุ่มน้ีจะต่ากว่าประเภทแอโนด ดังน้ันจึง ต้องมีการใชใ้นปริมาณที่สูง
3.สารยับยั้งการเกิดสนิมประเภทผสมทั้งแอโนด และแคโทด เป็นสารเคมีท่ีรวมคุณสมบัติใน การยับยั้ง กระบวนการเกิดปฏิกริยาแคโทด และแอโนดไปพร้อมกัน โดยป้องการการเกิด ปฏิกริยาของโลหะ และขณะเดียวกันก็ไปทาปฏิกริยากับไอออนในสารละลายที่ทาให้เกิดสนิม สารเคมีในกลุ่มน้ี เช่นสารกลุ่มเอมายน์ เป็นต้น”

โดยท่านสามารถดาวน์โหลดบทความฉบับเต็มได้ที่ ดาวน์โหลดบทความ

8.วิธีการป้องกันการกัดกร่อน

มีสารพัดวิธีในการปัองกันการเกิดสนิมหรือป้องกันการกัดกร่อน รวมถึงวิธีการปรับปรุงสภาพอากาศโดยรอบ ด้วยการปรับลดความชื้นสัมพทธ์,การฟอกหรือล้างด้วยไนโตเจน การสูบอากาศออก
การสร้างแนวป้องกันบนพื้นผิวของโลหะเพื่อป้องกันการซึมผ่านของความชื้น โดยกำแพงกั้นดังกล่าวสามารถสร้างได้จากการเคลือบผิวด้วยของเหลว เช่นน้ำมันกันสนิม
หรือจะใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติพิเศษอย่างสาร VCI
สารVCI อาศัยการระเหยของสารปัองกันสนิมจากแหล่งกำเหนิด ไม่ว่าจะเป็นพลาสติกกันสนิมหรือกระดาษกันสนิมไปยังผิวของโลหะ โดยโมเลกุลเหล่านั้นจะเกาะที่ผิวของโลหัเพื่อทำหน้าที่ปกป้องและช่วยยับยั้งปฏิกริยาการเกิดสนิ

9.ไนไตรท์ คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับผลิตภัณฑ์ VCI?

Non-Nitrite VCI Resin
Non-Nitrite VCI Resin

ไนไตรท์ที่ถูกนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ VCI นั้นอยู่ในสถานะของโซเดียมไนไตรท์ ซึ่งเจ้าสารนี้ถูกใช้เพื่อการถนอมอาหารมามากกว่า 100 ปีแล้ว โซเดียมไนไตรพบมากในเบคอน และ ซาลามิ เป็นที่ยอมรับและพิจาารณาว่าเป็นสารปรุงแต่งอาหารที่ได้รับอนุญาตให้ผสมในอาหารได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปริมาณโซเดียม ไนไตรท์ที่พบในร่างกายมนุษย์กว่า 85% นั้นถูกสร้างขึ้นเองด้วยกลไกของร่างกายมนุษย์เอง การใช้ประโยชน์จากสารโซเดียมไนไตรท์ก็เหมือนกับการใช้งานสารเคมีที่ใช้ในครัวเรือนทั่วๆไป เช่น ผงฟอกขาว แว๊กซ์ขัดพื้น เพื่อความปลอดภัยเราควรใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากจนเกินไป เพราะเมื่อร่างกายสัมผัสกับสารเคมีกลุ่มนี้มากเกินไปอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เฉกเช่นเดียวกันโซเดียมไนไตรท์ที่ถูกเติมในกลุ่มผลิตภัณฑ์ VCI อาจจะไม่ใช่ปริมาณเล็กน้อยเหมือนที่เติมเพื่อการถนอมอาหาร แต่ก็ไม่มากจนก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตมนุษย์ดังที่หลายๆคนเข้าใจผิดกัน เหตุผลที่โซเดียมไนไตรท์ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการป้องกันและยับยั้งการเกิดสนิม ก็เนื่องมาจากโซเดียมไนไตรท์มีคุณสมบัติที่ดีในการยับยั้งการเกิดสนิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนเหล็ก จากข้อมูลและการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง บริษัท Endupac เองสามารถผลิตสินค้ากันสนิม VCIทั้งแบบที่มี และไม่มีโซเดียมไนไตรท์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกันไป อีกทั้งสินค้าของเรายังมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าในกลุ่มพลาสติก เช่น VCI Film, ถุงคลุมพาเลทกันสนิม VCI, ถุงมุ้งขนาดใหญ่, ถุงซิบ VCI เป็นต้น และสินค้ากลุ่มอื่นๆเช่น กระดาษกันสนิม VCI แผ่นกันสนิม VCI chip เป็นต้น
เรายินดีให้คำปรึกษา คำแนะนำและตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับ VCI แก่ผู้ที่สนใจทุกท่าน

10.ประเภทของพลาสติก (Type of Plastics)

Plastic-Symbol
Plastic-Symbol

เม็ดพลาสติก แบ่งเป็น 7 ประเภท

พลาสติกที่ผลิตกันทุกวันนี้ แบ่งออกได้ 7 ชนิดด้วยกัน แต่ละชนิดจะระบุเป็นตัวเลข 1-7 ภายในเครื่องหมายลูกศรสามเหลี่ยมให้คนสามารถดูได้ เช่น หากเป็นขวดหรือน้ำดื่มก็จะอยู่ด้านล่างสุดของขวด

ชนิดที่ 1 เป็น พีอีทีอี (PETE) ชื่อเต็ม คือ polyethylene terephthalate ethylene เป็นพลาสติกใสใช้บรรจุน้ำดื่ม น้ำอัดลม เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ น้ำยาซักผ้า น้ำยาทำความสะอาด และ อาหารบางชนิด
ชนิดที่ 2 เป็น เอชดีพีอี (HDPE) ชื่อเต็มคือ high density polyethylene เป็นพลาสติกสีทึบ ใช้บรรจุนมสด น้ำดื่ม น้ำยาฟอกขาว น้ำยาซักผ้า แชมพู ขวดยา และถุงพลาสติก
ชนิดที่ 3 เป็นพีวีซี (PVC) เป็นชื่อย่อของ polyvinyl chloride ใช้เป็นพลาสติกสำหรับห่อหุ้ม เชือกพลาสติก เป็นขวดบรรจุชนิดบีบ มักจะใช้บรรจุน้ำมันพืช น้ำมันซักผ้า น้ำยาเช็ดกระจก ที่ใช้กันมากคือ ถุงหิ้วที่ใช้ใส่ของกันตามร้านค้า ซุปเปอร์มาเก็ต ร้านสะดวกซื้
ชนิดที่ 4 เป็นแอลดีพีอี (LDPE) ชื่อเต็มเป็น low density polyethylene ใช้เป็นถุงหิ้ว ใช้ห่อหุ้ม ขวดพลาสติกบางชนิด และที่ใช้กันมากที่สุดก็คือ ถุงเย็นใส่อาหาร ขนม กาแฟเย็น ชาเย็น
ชนิดที่ 5 เป็นพีพี (PP) ชื่อเต็มคือ polypropylene ใช้เป็นยางลบ ใช้ บรรจุภาชนะไซรัป โยเกิร์ต หลอดดูด ขวดนมเด็ก ถุงร้อนใช้สำหรับบรรจุอาหารร้อน เช่น ก๋วยเตี๋ยว กาแฟร้อน เป็นถ้วยกาแฟ ชา ชนิดใช้แล้วทิ้ง
ชนิดที่ 6 เป็นพอลีสไตรีน (polystyrene) เป็นพลาสติกที่ใช้เรียกทั่วไปว่าโฟม ใช้บรรจุรองรับการกระแทกพวกอุปกรณ์ ตู้เย็น วิทยุ วิทยุ โทรทัศน์ฯลฯ ในกล่องกระดาษอีกที ใช้ทำกล่องสำหรับบรรจุอาหารที่เรียกว่า ข้าวกล่อง ที่ใส่ไข่ ถ้วยที่ใช้แล้วทิ้ง ช้อน ส้อม มีดพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง
ชนิดที่ 7 เป็นชนิดอื่นๆ เช่น พอลีคาร์บอนเนต (polycarbonate) ทำเป็นขวดน้ำ เหยือกน้ำ ขวดนม ขวดน้ำบรรจุ 5 ลิตร ขวดน้ำนักกีฬา ใช้บุกระป๋องโลหะสำหรับใส่อาหาร เป็นถ้วยใส ช้อนส้อม มีดชนิดใส

11.การชุบแข็งผิวเหล็ก

image

What is the hardening process?

การชุบแข็ง คือ การอบชุบความร้อนวิธีหนึ่งเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของเหล็กกล้าคาร์บอนในด้านความแข็งและความต้านทานการขัดสี. กระบวนการนี้เริ่มต้นด้วยการให้ความร้อนแก่เหล็กจนถึงอุณหภูมิที่โครงสร้างเปลี่ยนเป็นออสเทนไนท์ ปล่อยทิ้งไว้ในเตาจนกระทั่งได้โครงสร้างออสเทนไนท์ที่สม่ำเสมอ แล้วทำให้เย็นตัวด้วยอัตราเร็วพอที่ทำให้เกิดโครงสร้างมาร์เทนไซท์ หรืออัตราการเย็นตัววิกฤต (Critical cooling rate).เพื่อที่จะให้ได้โครงสร้างมาร์เทนไซท์ที่สม่ำเสมอ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้

1. ปริมาณของธาตุคาร์บอน : เหล็กกล้าที่มีปริมาณร้อยละของธาตุคาร์บอนยิ่งสูง จะทำให้มีโอกาสในการเกิดโครงสร้างมาร์เทนไซท์มากขึ้น นอกจากนั้น ธาตุผสมอื่น เช่น นิเกิล โครเมียม และโมลิบดินั่ม ยังช่วยเพิ่มความสามารถในการชุบแข็ง (Hardenability) โดยการลดอัตราการเย็นตัววิกฤตอีกด้วย

2. อัตราการเย็นตัว : อัตราการเย็นตัวที่ต้องการเพื่อให้ได้โครงสร้างมาร์เทนไซท์นั้น ไม่ควรต่ำกว่าอัตราการเย็นตัววิกฤต และมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
– ผิวของชิ้นงานจะมีอัตราการเย็นตัวมากกว่าใจกลางเสมอ นอกจากนั้นยิ่งชิ้นงานมีขนาดใหญ่ อัตราเร็วการเย็นตัวตลอด ชิ้นก็จะต่ำลงด้วย ด้วยเหตุนี้ที่สภาวะเดียวกัน ชิ้นงานที่ยิ่งเล็กจะยิ่งมีโอกาสที่จะได้โครงสร้างมาร์เทนไซท์ที่สมบูรณ์
– ตัวกลางการเย็นตัวที่ต่างกัน จะให้อัตราเร็วการเย็นตัวที่ต่างกันด้วย เช่น น้ำ และน้ำเกลือ (น้ำที่มีโซเดียมคลอไรด์หรือแคลเซียมคลอไรด์ละลายอยู่ด้วยปริมาณหนึ่ง) จะให้อัตราการเย็นตัวที่รวดเร็วกว่าน้ำมัน. นอกจากนั้นการปั่นกวนสารตัวกลางยังเป็นการเพิ่มอัตราการเย็นตัวอีกวิธีหนึ่งด้วย

Cr:http://www.ssi-steel.com
Cr:http://goo.gl/45eZjn

extruder-process
extruder-process

11.คำศัพท์ที่พบบ่อยในวงการถุงพลาสติก

1.Blcoking

คืออาการเปิดปากถุงยาก มักเกิดขึ้นได้ง่ายในกรณีเป่าถุงที่บางมากๆ เช่นต่ำกว่า 20micron/แผ่น เมื่อแผ่นพลาสติกบางและเรียบประกบติดกัน มันก็จะเกิดการดูดติดกัน หรือบางทีก็เรียกว่า Cohesion

2.Die

คือหัวเป่า ทำหน้าที่ในการกำหนดรูปร่างและขนาดของลูกโป่ง(ขนาดถุง) ในขบวนการเป่าถุง โดยปกติทั่วไปหัวเป่า(Die) จะมีรูปร่างวงกลม

3.Extruder

คือขบวนการในการอัดรีดของเหลว โดยจะประกอบด้วย สกรูแบบเกลียวหมุนเพื่อทำการผสมและหลอมตัววัตถุดิบ

4.Frostline

คือจุดที่เม็ดพลาสติกหลอมเหลวจากของแข็งเป็นของฟิล์มพลาสติก

5.Gusset

คือระยะจีบลึกจากด้านข้างของถุงพลาสติก โดยระยะจีบนี้จะขยายตัวออกได้เมือบรรส่งสิ่งลงไป

6.Layflat Form

คือม้วนท่อพลาสติกที่ได้จากเป่าฟิล์ม เพื่อรอเข้าสู่ขบวนการถัดไป เช่นตัดและซีลเป็นถุง

7.Nips Rolls

คือลูกกลิ้ง2 ลูกที่อยู่เหนือหอระบายความเย็น ซึ่งทำหน้าที่ดึงม้วนพลาสติกที่ออกจากหัวเป่าขึ้นสู่แนวสูง

8.Polyethylene

คือเม็ดพลาสติกชนิด Thermoplastic ที่ได้จากขบวนการปิโตเคมี โดยการดัดแปลงโมเลกุลของแก๊สเอสธีลีน

12.เหล็ก (Iron) กับ เหล็กกล้า (Steel) แตกต่างกันอย่างไร

ผมเชื่อว่าหลายๆคน รวมถึงตัวผมเองก่อนหน้านี้ ก็เคยสงสัยว่า เหล็ก (Iron) กับ เหล็กกล้า (Steel) แตกต่างกันอย่างไร
พอดีได้ไปเจอบทความดีๆมีประโยชน์จากเวป บจก.ค้าเหล็กไทย จึงขอมาฝากกันครับ

เหล็ก ในภาษาอังกฤษ เรียกว่า Iron

เป็นธาตุเคมี ซึ่งในตารางธาตุ มีสัญลักษณ์เป็น Fe และ หมายเลขอะตอม 26
เหล็กอยู่ในธาตุหมู่ 8 และคาบ 4 โลหะสัญลักษณ์ Fe ย่อมาจาก ferrum
ในภาษาละติน แปลว่า เหล็ก ซึ่งมีจุดเดือด อยู่ที่ 2861 °C จุดหลอมเหลว อยู่ที่ 1538 °C

เหล็กกล้า ในภาษาอังกฤษ เรียกว่า Steel

คือ เหล็กที่มีส่วนผสมของคาร์บอนไม่เกิน 2% และธาตุอื่น ๆ หรือสารเจือ
โดยทั่วไปเหล็กบริสุทธิ์มีคุณสมบัติทางกลที่ไม่เหมาะสมสำหรับงานทางด้านวิศวกรรม
ดังนั้นเหล็กกล้าจึงมีความแตกต่างจากเหล็กอ่อน เหล็กบริสุทธิ์และ
เหล็กหล่อตรงที่สามารถทนต่อแรงดึง แรงบิด การขึ้นรูปหรือแปรรูปง่าย
ไม่เปราะหรือแตกหักง่ายและเชื่อมได้ เหล็กกล้ามีจุดหลอมเหลวสูงกว่าเหล็กดิบเพราะมีปริมาณคาร์บอนต่ำ

Leave a Reply

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save