พลาสติกกันสนิมกับจังหวัดชลบุรี
จังหวัดชลบุรี เป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งขอลประเทศไทย เนื่องจากมีชัยภูมิที่เหมาะสมคือไม่ไกลจากเมืองหลวงของประเทศ มีพื้นที่ติดทะเลอ่าวไทย มีเส้นทางออกสู่ประเทศเพื่อนบ้านในระยะไม่ไกลเกินไป มีภูเขาหรือที่เนินมากพอที่จะใช้เป็นเขตประกอบการนิคมอุตสาหกรรมได้ซึ่งช่วยตัดปัญหาเรื่องน้ำท่วม ซึ่งเป็นปัญหาที่สร้างความกังวลใจให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโดยเฉพาะชาวต่างชาติซึ่งเคยประสบภาวะน้ำท่วมกันมาแล้วในปี 2554ดังนั้นจะสังเกตเห็นว่าหลายหลายนิคมในจังหวัดชลบุรีจะมีพื้นที่ตั้งอยู่บนพื้นที่เนินเขา ส่วนหนึ่งก็เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาน้ำท่วม
จังหวัดชลบุรี เป็นจังหวัดที่ติดกับอ่าวไทยจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่งตั้งอยู่ นอกจากด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแล้วยังเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสำคัญของภาคตะวันออกอย่างมาก นอกจากนั้นยังเป็นทั้งในด้านพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของประเทศ
ในอดีตจังหวัดชลบุรีนั้นเคยเป็นแหล่งที่ตั้งของเมืองท่าที่มีความสำคัญมาก แม้แต่ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงเป็นที่ตั้งของท่าเรือที่มีความสำคัญของประเทศรองจากท่าเรือกรุงเทพ นั่นก็คือท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งเหมาะสม จังหวัดชลบุรีนั้นมีอาณาเขตติดกับจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดระยอง และจังหวัดจันทบุรี
รายชื่อนิคมอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดชลบุรี
•นิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี
•นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร
•นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร (โครงการ 2)
•นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง
•นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (แหลมฉบัง)
•นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 3)
•นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 4)
•นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง
•นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 5)
•นิคมอุตสาหกรรมบ้านบึง
•นิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี (โครงการ 2)
•นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด แห่งที่ 2
•นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด แห่งที่ 3
•นิคมอุตสาหกรรมเหมราชอีสเทิร์นซีบอร์ด แห่งที่ 4
พลาสติกกันสนิมกับการกัดกร่อนในจังหวัดชลบุรี
เนื่องจากมีพื้นที่เหมาะสมในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม นั่นคือมีชายขอบติดกับทะเลอ่าวไทยและมีท่าเรือน้ำลึกที่สำคัญนั่นคือท่าเรือแหลมฉบังแต่เนื่องจากมีพื้นที่ติดทะเลส่วนหนึ่งก็จะมีผลเสียทางอ้อมนั้นคือ สภาพอากาศร้อนชื้น สภาพอากาศร้อนชื้นของประเทศไทยบวกกับไอระเหยจากน้ำทะเลทำให้เกิดเป็นสภาพบรรยากาศที่มีความเค็มหรือความเป็นกรดเป็นด่างที่เกิดจากน้ำทะเลปะปนอยู่ในอากาศในปริมาณสูงกว่าในจังหวัดอื่นที่ไม่มีพื้นที่ติดทะเล ซึ่งจะก่อปัญหาที่ตามมาคือทำให้ชิ้นส่วนโลหะต่างๆเกิดอาการกัดกร่อนหรือเป็นสนิมหรือเกิดออกไซด์บนผิวโลหะได้ง่ายขึ้น
การกัดกร่อน (อังกฤษ: corrosion) หมายถึงภาวะซึ่งวัตถุหรือสิ่งประดิษฐ์ทางด้านวิศวกรรมทำปฏิกิริยากับสภาพแวดล้อม ทำให้ให้เกิดการเสื่อมสภาพของวัตถุนั้น ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำการทำงานหรือวัตถุประสงค์การใช้งานลด
ประเภทการกัดกร่อนในจังหวัดชลบุรี
ในสภาพแวดล้อมโดยทั่วไปสาเหตุการกัดกร่อนเกิดได้หลายอย่างเช่น ปฏิกิริยาเคมี ปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี หรืออาจเกิดจากปฏิกิริยาทางกายภาพของวัตถุนั้นเอง ลักษณะการกัดกร่อนที่พบเราสามารถแบ่งออกเป็นหลายแบบ เช่นแบ่งตามกลไกของการกัดกร่อน แบ่งตามลักษณะทางกายภาพ หรือตัวแปรที่ส่งผลต่อการกัดกร่อน
การกัดกร่อนแบบสม่ำเสมอ(Uniform Corrosion) เกิดขึ้นเนื่องจากวัตถุสัมผัสกับสิ่งแวดล้อม โดยอัตราความสูญเสียพื้นผิวของวัตถุที่บริเวณที่สัมผัสปัจจัยให้เกิดการกัดกร่อนต่างๆ โดยเฉลี่ยจะใกล้เคียงกัน
การกัดกร่อนเนื่องจากความต่างศักย์ (Galvanic Corrosion) เกิดจากวัตถุโลหะที่เป็นตัวนำไฟฟ้าได้ 2 ชนิดที่ต่างกันหรือวัตถุชนิดเดียวกันแต่ค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าต่างกัน มาเชื่อมต่อกันจะเกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าขึ้น ทำให้เกิดการไหลของ อิเล็กตรอนระหว่างวัตถุทั้งสองหากทำให้การสูญเสียอิเล็กตรอนของวัตถุที่มีค่าความต่างศักย์ต่ำกว่าและจะถูกกัดกร่อนในที่สุด
การกัดกร่อนแบบช่องแคบ (Crevice Corrosion) เกิดจากวัตถุสัมผัสสารละลายบางชนิดที่สามารถแตกตัวเป็นประจุไฟฟ้า หรือเกิดจากบริเวณพื้นผิวที่การถ่ายเทของเหลวไม่ดี ส่งผลต่อการทำปฏิกิริยาออกซิเดชันแตกต่างกัน มักเกิดตามรอกแยกหรือตามซอกต่างๆ ของวัตถุ
การกัดกร่อนแบบเป็นหลุม (Pitting)
ส่วนมากเกิดจากวัตถุอยู่สัมผัสสารละลายพวกคลอไรด์ เช่น น้ำทะเล เมื่อวัตถุถูกกัดกร่อน บริเวณกัดกร่อนจะเป็นรูหรือหลุม อาจถูกบดบังด้วยตัวกัดกร่อนเอง มักเกิดแบบเฉียบพลันตรวจพบได้ยาก มีขนาดเล็ก ส่วนใหญพบในวัตถุโลหะที่สามารถสร้างชั้นป้องกันได้
การกัดกร่อนตามขอบเกรน (Intergranular Corrosion) มักเกิดกับเหล็กกล้าไร้สนิม ในบริเวณที่มีการเชื่อมต่อ โดยเหล็กจะสูญเสีย โครเมียมในรูปคาร์ไบด์ เมื่อเกิดการสูญเสียจะขาดโครเมียมในการสร้างการป้องกันเนื้อเหล็ก
การผุกร่อนแบบเลือก (Selective Leaching or Dealloying) เกิดวัตถุที่เป็นโลหะผสม ที่ธาตุโลหะหนึ่งเสถียรกว่าธาตุหนึ่งเมื่อสัมผัสสภาพแวดล้อม เช่น การกัดกร่อนของทองเหลือง (Dezincification) โดยทองเหลืองจะสูญเสียสังกะสี เหลือแต่ทองแดงทำให้เป็นรูพรุน รูปทรงของวัตถุจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่ความแข็งแรงจะลดลง สามารถลดการกัดกร่อนได้โดยเติมดีบุกลงไปประมาณร้อยละ 1 ในทองเหลือง
การกัดกร่อนแบบกัดเซาะ (Erosion Corrosion) เกิดจากปฏิกิริยาเคมีและการเคลื่อนที่ เช่น การไหลหรือเคลื่อนที่ของสารละลายหรือของเหลวที่มีผลต่อการกัดกร่อน
การกัดกร่อนโดยความเค้น (Stress corrosion) เกิดจากความเค้นหรือแรงเค้นของสภาพแวดล้อม เช่น การตัด การดัด ความร้อนภายนอก การสั่นสะเทือน หรือความเค้นจากภายในของวัตถุที่อาจหลงเหลือจากการขึ้นรูป การเย็นตัวที่ไม่สม่ำเสมอ
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2545 พบว่ามีความสูญเสียที่เกิดจากการกัดกร่อนทั่วโลกคิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 11 ล้านล้านบาท และอัตราความเสียหายเกิดขึ้นกับประเทศกำลังพัฒนาประมาณร้อยละ 3 – 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP)
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล: https://th.m.wikipedia.org/wiki/การกัดกร่อน