คำแนะนำเบื้องต้นในการใช้งานบรรจุภัณฑ์ป้องกันสนิม
1. ควรปิดห่อบรรจุถุงพลาสติกกันสนิมหรือกระดาษกันสนิมให้สนิทเมื่อยังไม่ได้ใช้งานควรปิด ควรปิดหีบห่อของทั้งถุงพลาสติกกันสนิมและกระดาษกันสนิมให้สนิทเมื่อยังไม่มีการใช้งาน หรือก่อนเลิกงาน/เปลี่ยนกะ
2. ไม่ควรจับชิ้นงานด้วยมือเปล่า แนะนำอย่างยิ่งให้ว่าควรสวมถุงมือทุกครั้งขณะปฏิบัติงานทุกครั้ง เพราะเหงื่อจากมือเราเป็นสาเหตุให้เกิดสนิมได้ (ดูเพิ่มเติม power of finger)
3. ควรห่อหรือบรรจุชิ้นงานด้วยบรรจุภัณฑ์กันสนิม(พลาสติกกันสนิม/กระดาษกันสนิม)ให้มิดชิดและเร็วที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้
ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ให้สัมผัสกับอากาศและความชื้นเป็นเวลานาน
4. เมื่อบรรจุชิ้นงานด้วยถุงพลาสติกกันสนิมแล้วควรปิดปากถุงให้สนิท แต่ไม่จำเป็นต้องทำสุญญากาศ เหมือนที่หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าถุงพลาสติกกันสนิมต้องทำสุญญากาศเท่านั้น แต่เพียงแค่พับปิดปากถุงหรือรวบปากถุงให้สนิทก็พอ และในส่วนของกระดาษกันสนิมควรหันด้านที่เคลือบสารกันสนิมเค้าหาชิ้นงาน (แนะนำให้สอบถามจากผู้ขายก่อนใช้งาน)
5. ไม่ควรปล่อยให้ชิ้นงานโลหะสัมผัสกับกล่องกระดาษลูกฟูกหรือพาเลทไม้โดยตรงเนื่องจากทั้งกระดาษและพาเลทมีความชื้น/มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดสนิม
ควรห่อชิ้นงานด้วยบรรจุภัณฑ์กันสนิมให้สนิทมิดชิดก่อนวางบนพาเลทหรือใส่ลงในกล่องกระดาษลูกฟูก