How to measure your VCI Film or VCI Poly Bag?
การกำหนดความหนาของถุงพลาสติกกันสนิม
เนื่องจากการผลิตถุงพลาสติกทั้วไป(General Poly Bag)หรือถุงพลาสติกกันสนิม (VCI Poly Bags) ใช้ขบวนการบดอัดและขับดันออกมาหรือ Extrusion Process หรือเรียกกันในวงการผู้ผลิตถุงพลาสติกกันสนิมว่า “การเป่าถุง” เนื่องจากในขบวนการหลอม บดอัดเม็ดพลาสติกด้วยความร้อนและผลักดันออกผ่านหัวเป่า และหลังจากออกมาแล้วจะทำการหล่อให้เย็นโดยลมจากจานลม จะกระบวนการที่กำหนดขนาดหน้ากว้างและความหนาของถุงพลาสติก โดยความหนาของถุงพลาสติกกันสนิมจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับน้ำหนักของถุง หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆคือถุงบางจะน้ำหนักน้อยกว่าถุงที่หนากว่า ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่ถุงขนาดเท่ากันแต่ถ้าความหนาไม่เท่ากัน ราคาก็จะแตกต่างกัน เช่นถุงพลาสติกกันสนิมขนาด 20x30cm ความหนา 0.05mm (50micron) สมมติว่าราคา 5บาท/ใบ แต่จะราคาเพิ่มขึ้นเป็นใบละ 10บาท เมื่อความหนาเพิ่มขึ้นเป็น 0.1mm (100micron)!.
ความหนาของถุงพลาสติกกันสนิมมีผลต่อคุณสมบัติในการป้องกันสนิม
หลายท่านอาจไม่ทราบว่าความหนาของถุงพลาสติกกันสนิม(VCI Poly Film/Bags)มีความสำคัญโดยตรงต่อคุณสมบัติในการป้องกันสนิม ทั้งในแง่ของกายภาพและความสามารถในการปกป้องชิ้นงานจากการเกิดปฏิกริยากับความชื้นและออกซิเจนในอากาศ
กล่าวคือในทางกายคือ หมายถึงตัวถุงจะต้องมีความหนาเพียงพอที่จะทนต่อแรงที่จะทำให้เกิดการฉีกขาด ถึงแม้ว่าการทำงานของถุงพลาสติกกันสนิมจะไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นสูญญากาศ(Vacuum) แต่ก็จะต้องไม่มีการปิดสนิทหรือไม่เกิดการหมุนเวียนของอากาศที่เกิดจากรอยฉีกขาดมากเกินไป
ส่วนอีกนัยนึงคือในส่วนของความารถในการป้องกันสนิม คือเนื่องจากสูตรการผลิตถุงพลาสติกกันสนิมจะมีการผสมเม็ดสารกันสนิมหรือ VCI Resin ในอัตราส่วนคงทีโดยเที่ยบกับน้ำหนักของเนื้อพลาสติกเช่น 1:25 จึงทำให้ปริมาณของสารป้องกันสนิมจะสัมพันธ์กับน้ำหนักเนื้อพลาสติกของถุงหนึ่งใบ
ดังนั้น ควรเลือกใช้ถุงพลาสติกกันสนิมที่มีความหนาเพียงพอและเหมาะสมกับขนาด กับพื้นที่ผิวของชิ้นงานที่ต้องการได้รับการปกป้อง หรือสามารถติดต่อเพื่อขอรับคำแนะนำหรือขอสินค้าตัวอย่างเพือทำการทดสอบได้จากทีมงานฝ่ายขายของเราได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายครับ
แล้วเราจะใช้อะไรวัดความหนา (ซึ่งมันบางมากๆ)?
เนื่องจากการวัดความหนาของถุงพลาสติกที่มีความหนาน้อยมากๆ(ความบาง) ซื่งคงไม่สามารถใช้เครื่องมือพื้นฐานในการวัดความหนาเช่น ไม้บรรทัดหรือตลับเมตรมาวัดได้ จึงต้องใช้เครื่องมือที่มีความละเอียดพิเศษในการวัด นั่นคือเครื่องวัดความหนา หรือ Thickness Gauge โดยเครื่องวัดความหนาแบ่งเป็น 2 แบบหลักๆคือ
1)แบบเข็มหรือไดอัลเกจ
2)แบบดิจิตอล