สังเกตุไหมครับว่าทำไมเหล็กเพลาอันนี้เกิดสนิมเฉพาะช่วงปลาย แต่ช่วงโคลนไม่เกิดสนิม? แปลกไหมครับ???
จากรูปตัวอย่างด้านบน สาเหตุเกิดจากน้ำมันกันสนิมครับ!
อย่าเพิ่งตกใจไปครับ น้ำมันกันสนิมไม่ได้เป็นตัวทำให้เกิดสนิมโดยตรงครับ แต่เนื่องจากระหว่างจัดเก็บและขนส่งชิ้นงานซึ่งผ่านขั้นตอนการชุบน้ำมันป้องกันสนิมมาแล้ว และถูกจัดวางในแนวตั้ง แต่ด้วยธรรมชาติของน้ำมันหรือของเหลวที่จะไหลลงสู่ที่ต่ำตามแรงโน้มถ่วมของโลก ดังนั้นเมื่อชิ้นส่วนโลหะผ่านการชุบน้ำมันกันสนิมแล้ว โดยเฉพาะชิ้นส่วนทรงสูง จะมีโอกาสเจอกับปัญหามันกันสนิมไหลลงสู่ด้านล่าง ทำให้ชิ้นส่วนด้านบนแห้ง ปราศจากน้ำมันปกป้องผิวโลหะได้เร็วกว่าด้านล่าง จึงมีโอกาสเกิดสนิมได้เร็วกว่า
ถ้าหากคุณใช้น้ำมันกันสนิมเพื่อป้องกันการเกิดสนิมโลหะระหว่างการขนส่ง คุณรู้หรือไม่ว่าความหนาของชั้นน้ำมันที่เคลือบผิวโลหะไม่มีผลการันตีการป้องกันสนิมได้ การทำงานของน้ำมันกันสนิมจะให้ผลการปกป้องที่ดีก็ต่อเมื่อน้ำมันสามารถเคลือบบนทุกอณูของชิ้นโลหะ โดยเฉพาะในรอยแตก รอยแยก หรือแม้แต่จุดซอกซอนต่างๆ
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจหากคุณคิดที่จะเปลี่ยนจากการใช้งานน้ำมันกันสนิมมาเป็นวิธีการป้องกันสนิมโดยยึดหลักการการระเหยของสารเคมี (Vapor Corrosion Inhibitor, VCI) ต่อไปนี้คือเหตุผลที่ทำให้หลายๆอุตสาหกรรมเลือกใช้ VCI เพื่อการป้องกันสนิม
ข้อดีของ VCI
- สะดวก รวดเร็ว ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน
- เทคโนโลยี VCI นำมาปรับใช้เพื่อผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ได้
- กระบวนการทำงานของสาร VCI เกิดขึ้นรวดเร็วและอิ่มตัวภายใต้เงื่อนไขของสภาพแวดล้อมแบบปิด
- ไม่มีสารพิษที่เป็นอันตรายกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
- เหมาะสำหรับการจัดเก็บชิ้นส่วนโลหะทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว
- ปลอดภัยแม้ใช้งานร่วมกับวัสดุอื่นๆ อาทิเช่น ไวนิล พลาสติก หรือยาง
- เนื่องจากสาร VCI สามารถระเหยและหลุดจากผิวโลหะได้เอง จึงง่ายในการทำความสะอาดและสะดวกสำหรับชิ้นงานโลหะที่ต้องเข้าสู่กระบวนการแปรรูปอื่นต่อไป
ข้อเสีย
- บางสถานการณ์จำเป็นต้องผนวกการใช้บรรจุภัณฑ์กันสนิม VCI หลายๆวิธี
- ประสิทธิภาพลดลงถ้ามีการรั่วไหลของน้ำเข้าบรรจุภัณฑ์
- ไม่สามารถลดการเกิดสนิมได้ ถ้าโลหะนั้นมีสนิมอยู่แล้ว