การทดสอบประสิทธิภาพการช่วยป้องกันสนิมของบรรจุภัณฑ์ป้องกันสนิม
สำหรับบรรจุภัณฑ์ป้องกันสนิมหรือ VCi Packaging ซึ่งในที่นี้จะกล่าวรวมทั้งพลาสติกกันสนิม (VCi Film)และกระดาษ(VCI Paper)โดยในวันนี้ทางทีมงาน ENDUPAKขอนำเสนอขบวนการทดสอบความสามารถในการป้องกันสนิมของบรรจุภัณฑ์ป้องกันสนิม (Anti-Corrosion Packaging) ตามมาตรฐานของGerman test method TL 8135-002
Testing of Anti-Corrosive Effect of VCI Auxiliary Packaging Materials
อย่างที่หลายๆท่านอาจทราบอยู่แล้วคือบรรจุภัณฑ์ป้องกันสนิม ไม่สามารถทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันสนิมได้ในทางตรงหรือไม่มีเครื่องมือวัดที่สามารถบอกผลได้ในทันทีเหมือนกับถุงป้องกันไฟฟ้าสถิตย์(Anti-Electro Static Film/Bags)ที่มีเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่สามารถทราบผลได้ในทันที ดังนั้นการวัดคุณสมบัติในการป้องกันสนิมหรือค่าการป้องกันสนิมที่เหลืออยู่จำเป็นต้องใช้การทดสอบหรือจำลองสภาพการใช้งานจริงซึ่งสามารถทำได้ทั้งแบบ การทดสอบในห้องปฏิบัติการ(laboratory tests)และการทดสอบภาคสนาม (field tests)โดยการทดสอบตามมาตรฐานของ German test method TL 8135
จะเป็นการทดสอบในห้องปฏิบัติการโดยจำลองสภาพการให้ใกล้เคียงกับการใช้งานจริง โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.วัตถุประสงค์และขอบเขตในการทดสอบ
ระดับความชื้นที่สูงในอากาศหรือการกรั่นตัวเป็นหยดน้ำ นำมาซึ่งสาเหตของการเกิดการกัดกร่อน (Corrosion)หรือการเกิดสนิม(Rusting)โดยเฉพะอย่างยิ่งในบรรจุภัณฑ์แบบปิดหรือความคุมการเข้าออกของอากาศ ดังนั้นบรรจุภัณฑ์ป้องช่วยป้องกันสนิม(VCI auxiliary packing materials)จึงมาส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดความเสียหายจากการเกิดปฏิกริยาดังกล่าวได้
ขั้นตอนการทดลองได้สรุปไว้เป็นข้อๆตามด้านล่าง ซึ่งจะใช้ช่วงเวลามาเป็นตัวทดสอบการทำงานของบรรจุภัณฑ์ช่วยป้องกันสนิมหลังจากการจัดเก็บ
2.นิยามและคำจัดความ
บรรจุภัณฑ์ช่วยป้องกันสนิม หรือ VCI auxiliary packing materials ในที่นี้หมายถึงกระดาษคราฟท์หรือกระดาษย่นป้องกันสนิม(VCI Kraft/Crepe Paper) หรือแผ่นพลาสติกที่มีส่วนผสมของสารระเหยป้องการกัดกร่อนหรือป้องกันการเกิดสนิม โดยส่วนผสมของสารดังกล่าวจะระเหยออกมาในอากาศและมีส่วนช่วยป้องกันสินค้าหรือชิ้นส่วนโลหะภายในบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นให้ปราศจากการเกิดการกัดกร่อนหรือการเกิดสนิมแม้จะอยู่ภายใต้สภาวะที่มีความชื้นสูงก็ตาม
การบรรจุสินค้าในบรรจุภัณฑ์ช่วยป้องกันสนิมจะต้องทำภายใต้ระบบปิดหรือมีการควบคุมให้มีอากาศผ่านเข้าออกน้อยที่สุด ไม่เช่นนั้นแล้วสารป้องกันสนิมก็ระเหยออกไปสู่บรรยากาศภายนอกหมดซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการช่วยป้องกันการกัดกร่อนลดลง
3.หลักการในการทดสอบ
Test Sample ในที่นี้คือจานโลหะ(Steel Disk)ที่มีความไวต่อการเกิดการกัดกร่อนจะถูกบรรจุในหลอดแก้วทดลองขนาด 1ลิตรร่วมกับแผ่นพลาสติกป้องกันสนิมหรือ VCI Film
ในขณะเดียวกันจานโลหะชนิดเดียว (Control Sample)กันอีกชิ้นหนึ่งก็จะถูกบรรจุในหลอดแก้วทดลองเช่นเดียวกันแต่ไม่พลาสติกกันสนิมร่วมอยู่ด้วย เพื่อใช้ในการประเมินเปรียบเทียบการเกิดการกัดกร่อน/สนิม และยืนยันว่าเงื่อนไขในการทดสอบเพียงพอที่จะทำให้เกิดสินมบนจานโลหะที่ไม่ได้รับการป้องกัน
4.วัสดุและอุปกรณ์ในการทดสอบ
4.1 หลอดแก้วทดลองแบบคอกว้าง หรือ Erlenmeyer flask ขนาด1ลิตร ตามมาตรฐาน DIN 12385
4.2 ฝาจุกยางขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 54mm,พร้อมรูเจาะแนวตั้งขนาด15 mmและซะร่องสำหรับจับยึดตัวโลหะทดสอบ
4.3 จานโลหะเกรด S235JRG2 DIN EN 10025 (material number 1.0038)
4.4 กรีเซอรีนผสมน้ำจำนวน 10ml.ที่ความหนาแน่น 1.076g/cm3 at (23 ± 2)°C (glycerin/water mass ratio about 1:2,ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่DIN 50008-1)
4.5 อีธานอล พีเอ (Ethanol p.a.)
4.6 กระดาษทรายน้ำเบอร์320
4.7 ตู้อบแบบเป่าลมร้อน (DIN 50011-12)
5.ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ช่วยป้องกันสนิม(กระดาษกันสนิมหรือพลาสติกกันสนิม)
5.1 ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ช่วยป้องกันสนิมที่นำมาใช้ทดสอบควรอยู่ในสภาพสมบูรณ์ตามเงื่อนไขที่เหมาะสม ทั้งเรื่องคุณภาพและระยะเวลาเพื่อให้ได้ผลการทดสอบที่ดีที่สุด
5.2 ตัดแผ่นกระดาษกันสนิมหรือพลาสติกกันสินขนาด 25x150mm
5.3 ใช้แผ่นตัวอย่างกระดาษหรือพลาสติกกันสนิมในข้อ 5.2 จำนวน 6 ชิ้น
5.4 แผ่นตัวอย่างกระดาษหรือพลาสติกกันสนิมควรตัดและใช้ทันทีก่อนการทดสอบ และเพื่อเป็นการป้องกันการสัมผัสด้วยมือเปล่า แนะนำให้สวมถุงมือยางระหว่างทำการทดสอบ